ใบงานที่ 8

การแบ่งพาร์ติชั่น (Partition) 
การแบ่งพาร์ติชั่น หมายถึงการแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิส (HardDisk) ก็เป็นไดร์ฟ (Drive)  ต่าง ๆ ตั้งแต่ C ไปได้เรื่อย ๆ ตามจำนวนเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ที่มีอยู่เพื่อจัดสรรพื้นที่เก็บข้อมูลให้ได้คุ้มค่าและมากที่สุด 



การทำให้ฮาร์ดดิสก์เปลี่ยนสถานะจากของใหม่ๆ ที่เพิ่งผลิตจากโรงงานมาเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการติดตั้ง DOS หรือ Windows9x จะต้องผ่าน 3 ขั้นตอน คือ การทำ Format ทางกายภาพ (Physical Formatting) การสร้างพาร์ติชั่น (Partitioning) และการ Format ทางลอจิคอล (Logical Formatting) เพื่อทำความเข้าใจว่าแต่ละขั้นตอนทำงานอย่างไร เราลองมาดูสรุปเกี่ยวกับการทำงานของฮาร์ดดิสก์ดังนี้
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) คือ อุปกรณ์กลไกที่ประกอบด้วยแผ่นจาน (โลหะกลมขนาดเล็กใช้สำหรับบรรจุแม่เหล็กบนด้านทั้งสอง) ซ้อนๆกัน มีแกนหมุน และมีหัวอ่าน/เขียน ข้อมูล ทำหน้าอ่านและเขียนข้อมูลจากแผ่นจาน หัวอ่านและเขียนจะเป้นตัวทำให้ประจุแม่เหล็กถูกเก็บลงบนจาน (กลายเป็นบิตต่างๆ) เมื่อคุณสั่งให้โปรแกรมอ่านไฟล์จากดิสก์ แผ่นจานจะหมุนไปรอบๆแกน แล้วหัวอ่านจะเลื่อนกลับไปกลับมาจนกระทั่งเจอบิตที่ต้องการ จากนั้นซอฟต์แวร์ในฮาร์ดดิสก์และตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Controller) จะอ่านข้อมูลในบิตนั้นลงไปใน Ram และเมื่อคุณทำการบันทึกข้อมูล คอมพิวเตอร์จะส่งชุดของบิตไปยังฮาร์ดดิสก์ และบันทึกด้วยหัวเขียนกลายเป็นประจุแม่เหล็กบนฮาร์ดดิสก์
กลับมาเรื่องคอมพิวเตอร์กันต่อ ฮาร์ดดิสก์ของคุณจะยังใช้การไม่ได้จนกว่าจะผ่านขั้นตอนการ Format และการทำพาร์ติชั่น ขั้นแรก คือการ Format ทางกายภาพ หรือ Low-Level Format ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะทำมาให้แล้ว (สำหรับไดรว์รุ่นเก่าๆหรือไดรว์แบบ SCSI นั้น จะมียูทิลิตี้ใรการทำ Low-Level Format ส่วน IDE จะไม่มียูทิลิตี้ดังกล่าว) การทำ Low-Level Format เป็นการกำหนดโครงสร้างฮาร์ดดิสก์ให้เป็นแทร็ก (Track) , เซ็กเตอร์ (Sector) , และไซลินเดอร์ (Cylinder) คุณจะคุ้นเคยกับคำเหล่านี้ถ้าคุณเป็นคนชอบติดตั้งฮาร์ดดิสก์
แทร็กมีลักษณะเหมือนร่องบนแผ่นเสียง แต่แทร็กแต่ละวงจรจะแยกจากกัน ไม่ได้เป็นวงต่อๆกันเหมือนอย่างบนแผ่นเสียง แทร็กจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆเรียกว่าเซ็กเตอร์ แต่ละเซ็กเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากมาย แต่ละแผ่นจานจะมีแทร็กและเซ็กเตอร์เป็นของตัวเอง แต่ละไซลินเดอร์ก็คือ กลุ่มแทร็กที่สัมพันธ์กัน ซึ่งก็คือแทร็กที่มีระยะห่างจากแกนหมุนเท่าๆกันนั่นเอง เราลองมานึกถึงภาพไซลินเดอร์กัน สมมุติว่ามีแพนเค้กวางซ้อนกันอยู่ และมีแก้วน้ำจำนวนหนึ่ง ซึ่งแต่ละแก้วมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เท่ากัน กดแก้วแต่ละใบตรงกลางของกองแพนเค้ก ทำอย่างนี้จนครบทุกแก้ว แพนแค้กจะถูกแบ่งออกเป็นวงๆตลอดทั้งกอง นั่นคือลักษณะของไซลินเดอร์
การทำให้ฮาร์ดดิสก์เปลี่ยนสถานะจากของใหม่ๆ ที่เพิ่งผลิตจากโรงงานมาเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการติดตั้ง DOS หรือ Windows9x จะต้องผ่าน 3 ขั้นตอน คือ การทำ Format ทางกายภาพ (Physical Formatting) การสร้างพาร์ติชั่น (Partitioning) และการ Format ทางลอจิคอล (Logical Formatting) เพื่อทำความเข้าใจว่าแต่ละขั้นตอนทำงานอย่างไร เราลองมาดูสรุปเกี่ยวกับการทำงานของฮาร์ดดิสก์ดังนี้
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) คือ อุปกรณ์กลไกที่ประกอบด้วยแผ่นจาน (โลหะกลมขนาดเล็กใช้สำหรับบรรจุแม่เหล็กบนด้านทั้งสอง) ซ้อนๆกัน มีแกนหมุน และมีหัวอ่าน/เขียน ข้อมูล ทำหน้าอ่านและเขียนข้อมูลจากแผ่นจาน หัวอ่านและเขียนจะเป้นตัวทำให้ประจุแม่เหล็กถูกเก็บลงบนจาน (กลายเป็นบิตต่างๆ) เมื่อคุณสั่งให้โปรแกรมอ่านไฟล์จากดิสก์ แผ่นจานจะหมุนไปรอบๆแกน แล้วหัวอ่านจะเลื่อนกลับไปกลับมาจนกระทั่งเจอบิตที่ต้องการ จากนั้นซอฟต์แวร์ในฮาร์ดดิสก์และตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Controller) จะอ่านข้อมูลในบิตนั้นลงไปใน Ram และเมื่อคุณทำการบันทึกข้อมูล คอมพิวเตอร์จะส่งชุดของบิตไปยังฮาร์ดดิสก์ และบันทึกด้วยหัวเขียนกลายเป็นประจุแม่เหล็กบนฮาร์ดดิสก์
กลับมาเรื่องคอมพิวเตอร์กันต่อ ฮาร์ดดิสก์ของคุณจะยังใช้การไม่ได้จนกว่าจะผ่านขั้นตอนการ Format และการทำพาร์ติชั่น ขั้นแรก คือการ Format ทางกายภาพ หรือ Low-Level Format ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะทำมาให้แล้ว (สำหรับไดรว์รุ่นเก่าๆหรือไดรว์แบบ SCSI นั้น จะมียูทิลิตี้ใรการทำ Low-Level Format ส่วน IDE จะไม่มียูทิลิตี้ดังกล่าว) การทำ Low-Level Format เป็นการกำหนดโครงสร้างฮาร์ดดิสก์ให้เป็นแทร็ก (Track) , เซ็กเตอร์ (Sector) , และไซลินเดอร์ (Cylinder) คุณจะคุ้นเคยกับคำเหล่านี้ถ้าคุณเป็นคนชอบติดตั้งฮาร์ดดิสก์
แทร็กมีลักษณะเหมือนร่องบนแผ่นเสียง แต่แทร็กแต่ละวงจรจะแยกจากกัน ไม่ได้เป็นวงต่อๆกันเหมือนอย่างบนแผ่นเสียง แทร็กจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆเรียกว่าเซ็กเตอร์ แต่ละเซ็กเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากมาย แต่ละแผ่นจานจะมีแทร็กและเซ็กเตอร์เป็นของตัวเอง แต่ละไซลินเดอร์ก็คือ กลุ่มแทร็กที่สัมพันธ์กัน ซึ่งก็คือแทร็กที่มีระยะห่างจากแกนหมุนเท่าๆกันนั่นเอง เราลองมานึกถึงภาพไซลินเดอร์กัน สมมุติว่ามีแพนเค้กวางซ้อนกันอยู่ และมีแก้วน้ำจำนวนหนึ่ง ซึ่งแต่ละแก้วมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เท่ากัน กดแก้วแต่ละใบตรงกลางของกองแพนเค้ก ทำอย่างนี้จนครบทุกแก้ว แพนแค้กจะถูกแบ่งออกเป็นวงๆตลอดทั้งกอง นั่นคือลักษณะของไซลินเดอร์

จุดประสงค์ในการแบ่งพาร์ติชั่น
1. เพื่อทำให้ฮาร์ดดิสก์สามารถ Boot ด้วยตัวเองได้ เรียกว่า การ Set Active Partition
2. เพิ่มจำนวนไดร์ฟให้มากขึ้น เพื่อต้องการเก็บข้อมูลที่สำคัญไว้เป็นสัดส่วน
3. ลดขนาดของฮาร์ดดิสก์ให้เล็กลง เพื่อนำฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่ไปใช้กับเครื่องรุ่นเก่าได้


การแบ่ง Partition เบื้องต้น


      Program ที่ใช้สำหรับแบ่ง Partition มีอยู่หลายตัวมากๆครับ แล้วแต่ว่าใครจะถนัดใช้ตัวไหน ผมเอามาสอนเท่าที่ผมใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ (ส่วนใหญ่ผมจะใช้จากแผ่น Hiren นะครับ)
            ก่อนจะมารู้จักการใช้โปรแกรมต่างๆ ขออธิบายเรื่องของPartitionซักนิดนึงนะครับ
    การแบ่งPartitionก็คือการแบ่งพื้นที่ HDD ออกเป็นส่วนๆ ตามความต้องการของเราครับ โดยจะมีชื่อเรียกพื้นที่ต่างๆ คือ
  1. Primary จะใช้เก็บ OS หรือ Windows ครับ
  2. Extended เป็นพื้นที่ๆเหลือจาก Primary และจะคลอบคลุมพื้นที่ Logical
  3. Logical จะเป็นพื้นที่ภายใต้ Extended และจะถูกแบ่งออกเป็น Drive ย่อยๆเช่น D:, E:, F:
ประโยชน์ของการแบ่ง Partition ก็เพื่อใช้เก็บข้อมูลสำคัญต่างๆออกจาก OS เพื่อความปลอดภัยจาก virus ได้ในระดับนึงครับ เพื่อให้ง่ายต่อการกู้ข้อมูล และกู้ windows ด้วยครับ



การ Format ฮาร์ดดิสก์
  
  หลังการทำ Partition HDD แล้ว จะต้องทำการ Format ฮาร์ดดิสก์ ก่อนที่จะติดตั้ง OS เช่น Windows
โดยในการ Format ฮาร์ดดิสก์ สามารถกำหนดการใช้งานระบบ FAT ได้ 2 รูปแบบคือ
1. ระบบ FAT 16 แนะนำให้ใช้แผ่นบูต DOS 6.22 เหมาะสำหรับการลงโปรแกรม Windows 3.11 , 95 , 98 หรือ Windows NT
2. ระบบ FAT 32 แนะนำให้ใช้แผ่น Startup Windows 98 เหมาะสำหรับการลงโปรแกรม Windows 98, Windows 2000 , Windows ME

3. การ Format ฮาร์ดดิสก์ ให้พาร์ทิชั่นแรกสามารถบูตเครื่องได้ให้ใช้คำสั่ง
C:\>format C:/s/c/u
คำสั่ง /s หมายถึง ให้ติดตั้ง Sysytem Files เพื่อบูตเครื่องได้
คำสั่ง /c หมายถึง การตรวจสอบฮาร์ดดิสก์แบบ Complete เพื่อหาตำแหน่งเนื้อที่ที่เสียหาย (Bad Sector)
คำสั่ง /u หมายถึง ไม่ต้องการกู้สิ่งใดกลับคืนหลังการ Format แล้ว
การ Format ฮาร์ดดิสก์จะมีการถามยืนยันว่า คุณกำลัง Format ฮาร์ดดิสก์ ข้อมูลจะสูญหาย จะทำต่อหรือไม่ ตอบ Y เพื่อทำการ Format
4. หลังจาก Format เสร็จสิ้นแล้วให้ใส่ Volume Label (ชื่อฮาร์ดดิสก์ใส่ได้ 11 ตัวอักษร) ถ้าไม่ต้องการให้ Enter ผ่านไป หลังจาหนั้นสามารถติดตั้ง Windos และ โปรแกรมใช้งาน ตามต้องการต่อไป

การติดตั้ง Windows หลังจาก Format ฮาร์ดดิสก์ นั้น เริ่มจากการทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับ Cd-Rom ได้ โดยการใช้แผ่น Startup Windows 98 Boot แล้วเลือกข้อ 1 หรือ Setup Driver ของ Cd-Rom จากแผ่น Driver ของ Cd-Rom ลงในฮาร์ดดิสก์โดยตรง แล้ว Restart เครื่องใหม่เพื่อลง Windows จากแผ่น CD ติดตั้งของ Windows ต่อไป
การคำนวณเนื้อที่ความจุของฮาร์ดดิสก์
สูตรการคำนวณคือ
ความจุฮาร์ดดดิสก์ = จำนวนหัวอ่าน x จำนวนเซ็คเตอร์ในหนึ่งไซลินเดอร์ x จำนวนไบต์ในหนึ่งเซ็คเตอร์ x จำนวนไซลินเดอร์
ความจุในหนึ่งไซลินเดอร์ = จำนวนหัวอ่าน x จำนวนเซ็คเตอร์ในหนึ่งไซลินเดอร์ x จำนวนไบต์ในหนึ่งเซ็คเตอร์
ตัวอย่างเช่นฮาร์ดดิสก์ที่มีหัวอ่าน 4 หัว มี 615 ไซลินเดอร์ๆละ 17 เซ็คเตอร์ๆละ 0.5 กิโลไบต์(512 ไบต์) จะได้
ความจุฮาร์ดดิสก์ = 4 x 17 x 0.5 x 615 = 20,910 KB หรือ 20 MB
ความจุในหนึ่งไซลินเดอร์ = 4 x 17 x 0.5 = 34 KB
คราวนี้คุณก็สามารถกำหนดขนาดของความจุของแต่ละพาร์ทิชั่นจากการกำหนดจำนวนไซลินเดอร์ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าให้พาร์ทิชั่นมีจำนวน 200 Cylinders ก็จะมีขนาด 6,800 KB เป็นต้น
สำหรับฮาร์ดดิสก์ของคุณจะมีจำนวนหัวอ่าน, จำนวนไซลินเดอร์, จำนวนเซ็คเตอร์ในหนึ่งไซลินเดอร์ และจำนวนไบต์ในหนึ่งเซ็คเตอร์เป็นเท่าใด ให้ตรวจสอบจากผู้ขาย หรือเอกสารที่แนบมากับฮาร์ดดิสก์
ระบบจัดเก็บไฟล์ในระบบปฏิบัติการต่างๆ

ระบบปฏิบัติการระบบไฟล์ที่สนับสนุน
MS DOS 6.22FAT 16
Windows 3.1FAT 16
Windows 95 และ 95AFAT 16
Windows 95B และ 95CFAT 16 , FAT 32
Windows 98 และ MeFAT 16 , FAT 32
Windows NT4FAT 16 , NTFS (SP4)
Windows 2000FAT 16 , FAT32 , NTFS
Windows XPFAT 32 , NTFS
    

0 Response to "ใบงานที่ 8"

แสดงความคิดเห็น