ใบงานที่ 7

การแก้ไขปัญหา Hardware 

Hard Disk ทำงานช้าจะทำอย่างไร

โดยส่วนมากแล้วสาเหตุจะมาจากพื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ไม่มากพอครับ สำหรับผู้ใช้ Window 95 , 98 ควรที่จะมีพื้นที่ว่างเหลืออย่างน้อยที่สุดประมาณ 500 MB การแก้ไขคือ ควรทำ Disk Cleanup (ทำทุกวัน)  Scandisk (ทำทุกวัน) และ Disk Defragment (ทำทุกเดือน)


Tips And Trick ง่ายๆ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์อืด เร็วขึ้นทันใจ (soft ware)

คอมพิวเตอร์เก่า ช้ามากมาย อยากให้เร็วจี๊ดขึ้นทำไงดีหละแรมก็น้อย ทรัพย์ก็จางอีก ปัญหาประเทศ
หละครับพี่น้องครับ  รัฐบาลคงไม่แจกอั่งเปาอิกเป็นแน่แท้ (อันหลังนี่ไม่เกี่ยวกัน 55+ )
 วิธีทำไม่ยุ่งยากครับ มีหลายวิธีแต่จะเอาอันง่ายๆ ก่อนก็แล้วกันนะจ๊ะ อะไรเอ่ยที่ทำให้คอมพิวเตอร์คู่ใจเราช้ามาก มาย มากกว่าเต่าอิกนะ  คำตอบคงมีหลายแง่หลายมุมแตกต่างกันไป ทั้งการที่มีโปรแกรมประเภทมัลติมีเดียที่ เยอะรกหูรกตา เต็มหน้าเดสก์ทอป นานๆครั้ง ท่านเจ้าจะคลิกมัน ออกมาใช้ ทั้งที่มี โปรแกรมคู่ใจอยู่แล้ว
ยกตัวอย่าง GOM PLAYER , JET AUDIO, VLC , POWER DVD ,MEDIA PLAYER CLASSIC,WINAMP,WMP
 และนา ๆ ต่างๆมากมาย ไม่รู้เหมือนกัน ว่าทำไมร้านคอมจึง ลงให้เราหนักเครื่องมากมายเหลือเกิน ทั้งๆที่ โปรแกรมเดียว อาจ ดู file ต่างๆ ได้ครอบจักรวาล สงสัยคงเป็นการทำตลาด ประเภท เอาจำนวนเข้าว่า (ใน วิชาการตลาด คงเป็น product marketing 55 บวก เอาเข้าไป) เอาหละเข้าเนื้อกันเลย พูดมายาวนานจะบอกว่า โปรแกรมมัลติมีเดียนี่ เอาไว้อันที่เราใช้จริงๆ ก็พอ ไม่จำเป็นต้อง
มีเยอะรกหูรกตา รก ฮาร์ดดิสก์ เช่นผม เจ้าประจำดุหนังทุกไฟล์ ตั้งแต่ 3gp ยัน image file คือ VLC ครับ ของเขา ดีจริง ดูได้ทุกอัน ไฟล์เล็ก คุ้มค่ากับการลงโปรแกรมนี้ ต่อมาก็ GOM PLAYER ครับ เอาไว้ดุหนังประเภท XVID DVD5  อันที่มี sub ต่างๆ นาๆ แล้วก็โปรแกรมประจำคอม winamp อานะ นอกนั้นก้มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป
แต่ความเห็นสว่นตัว vlc กะ วินแอมก้พอละ window media player ไม่ต้องพูดถึงเขาละ ของเขาดีจริง สรุป โปรแกรมไรไม่ได้ใช้ก็ Remove ซะ หนักเครื่อง คอมพ์ อืดนะจะบอกให้ 

ใบงานที่ 8

การแบ่งพาร์ติชั่น (Partition) 
การแบ่งพาร์ติชั่น หมายถึงการแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิส (HardDisk) ก็เป็นไดร์ฟ (Drive)  ต่าง ๆ ตั้งแต่ C ไปได้เรื่อย ๆ ตามจำนวนเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ที่มีอยู่เพื่อจัดสรรพื้นที่เก็บข้อมูลให้ได้คุ้มค่าและมากที่สุด 



การทำให้ฮาร์ดดิสก์เปลี่ยนสถานะจากของใหม่ๆ ที่เพิ่งผลิตจากโรงงานมาเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการติดตั้ง DOS หรือ Windows9x จะต้องผ่าน 3 ขั้นตอน คือ การทำ Format ทางกายภาพ (Physical Formatting) การสร้างพาร์ติชั่น (Partitioning) และการ Format ทางลอจิคอล (Logical Formatting) เพื่อทำความเข้าใจว่าแต่ละขั้นตอนทำงานอย่างไร เราลองมาดูสรุปเกี่ยวกับการทำงานของฮาร์ดดิสก์ดังนี้
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) คือ อุปกรณ์กลไกที่ประกอบด้วยแผ่นจาน (โลหะกลมขนาดเล็กใช้สำหรับบรรจุแม่เหล็กบนด้านทั้งสอง) ซ้อนๆกัน มีแกนหมุน และมีหัวอ่าน/เขียน ข้อมูล ทำหน้าอ่านและเขียนข้อมูลจากแผ่นจาน หัวอ่านและเขียนจะเป้นตัวทำให้ประจุแม่เหล็กถูกเก็บลงบนจาน (กลายเป็นบิตต่างๆ) เมื่อคุณสั่งให้โปรแกรมอ่านไฟล์จากดิสก์ แผ่นจานจะหมุนไปรอบๆแกน แล้วหัวอ่านจะเลื่อนกลับไปกลับมาจนกระทั่งเจอบิตที่ต้องการ จากนั้นซอฟต์แวร์ในฮาร์ดดิสก์และตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Controller) จะอ่านข้อมูลในบิตนั้นลงไปใน Ram และเมื่อคุณทำการบันทึกข้อมูล คอมพิวเตอร์จะส่งชุดของบิตไปยังฮาร์ดดิสก์ และบันทึกด้วยหัวเขียนกลายเป็นประจุแม่เหล็กบนฮาร์ดดิสก์
กลับมาเรื่องคอมพิวเตอร์กันต่อ ฮาร์ดดิสก์ของคุณจะยังใช้การไม่ได้จนกว่าจะผ่านขั้นตอนการ Format และการทำพาร์ติชั่น ขั้นแรก คือการ Format ทางกายภาพ หรือ Low-Level Format ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะทำมาให้แล้ว (สำหรับไดรว์รุ่นเก่าๆหรือไดรว์แบบ SCSI นั้น จะมียูทิลิตี้ใรการทำ Low-Level Format ส่วน IDE จะไม่มียูทิลิตี้ดังกล่าว) การทำ Low-Level Format เป็นการกำหนดโครงสร้างฮาร์ดดิสก์ให้เป็นแทร็ก (Track) , เซ็กเตอร์ (Sector) , และไซลินเดอร์ (Cylinder) คุณจะคุ้นเคยกับคำเหล่านี้ถ้าคุณเป็นคนชอบติดตั้งฮาร์ดดิสก์
แทร็กมีลักษณะเหมือนร่องบนแผ่นเสียง แต่แทร็กแต่ละวงจรจะแยกจากกัน ไม่ได้เป็นวงต่อๆกันเหมือนอย่างบนแผ่นเสียง แทร็กจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆเรียกว่าเซ็กเตอร์ แต่ละเซ็กเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากมาย แต่ละแผ่นจานจะมีแทร็กและเซ็กเตอร์เป็นของตัวเอง แต่ละไซลินเดอร์ก็คือ กลุ่มแทร็กที่สัมพันธ์กัน ซึ่งก็คือแทร็กที่มีระยะห่างจากแกนหมุนเท่าๆกันนั่นเอง เราลองมานึกถึงภาพไซลินเดอร์กัน สมมุติว่ามีแพนเค้กวางซ้อนกันอยู่ และมีแก้วน้ำจำนวนหนึ่ง ซึ่งแต่ละแก้วมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เท่ากัน กดแก้วแต่ละใบตรงกลางของกองแพนเค้ก ทำอย่างนี้จนครบทุกแก้ว แพนแค้กจะถูกแบ่งออกเป็นวงๆตลอดทั้งกอง นั่นคือลักษณะของไซลินเดอร์
การทำให้ฮาร์ดดิสก์เปลี่ยนสถานะจากของใหม่ๆ ที่เพิ่งผลิตจากโรงงานมาเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการติดตั้ง DOS หรือ Windows9x จะต้องผ่าน 3 ขั้นตอน คือ การทำ Format ทางกายภาพ (Physical Formatting) การสร้างพาร์ติชั่น (Partitioning) และการ Format ทางลอจิคอล (Logical Formatting) เพื่อทำความเข้าใจว่าแต่ละขั้นตอนทำงานอย่างไร เราลองมาดูสรุปเกี่ยวกับการทำงานของฮาร์ดดิสก์ดังนี้
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) คือ อุปกรณ์กลไกที่ประกอบด้วยแผ่นจาน (โลหะกลมขนาดเล็กใช้สำหรับบรรจุแม่เหล็กบนด้านทั้งสอง) ซ้อนๆกัน มีแกนหมุน และมีหัวอ่าน/เขียน ข้อมูล ทำหน้าอ่านและเขียนข้อมูลจากแผ่นจาน หัวอ่านและเขียนจะเป้นตัวทำให้ประจุแม่เหล็กถูกเก็บลงบนจาน (กลายเป็นบิตต่างๆ) เมื่อคุณสั่งให้โปรแกรมอ่านไฟล์จากดิสก์ แผ่นจานจะหมุนไปรอบๆแกน แล้วหัวอ่านจะเลื่อนกลับไปกลับมาจนกระทั่งเจอบิตที่ต้องการ จากนั้นซอฟต์แวร์ในฮาร์ดดิสก์และตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Controller) จะอ่านข้อมูลในบิตนั้นลงไปใน Ram และเมื่อคุณทำการบันทึกข้อมูล คอมพิวเตอร์จะส่งชุดของบิตไปยังฮาร์ดดิสก์ และบันทึกด้วยหัวเขียนกลายเป็นประจุแม่เหล็กบนฮาร์ดดิสก์
กลับมาเรื่องคอมพิวเตอร์กันต่อ ฮาร์ดดิสก์ของคุณจะยังใช้การไม่ได้จนกว่าจะผ่านขั้นตอนการ Format และการทำพาร์ติชั่น ขั้นแรก คือการ Format ทางกายภาพ หรือ Low-Level Format ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะทำมาให้แล้ว (สำหรับไดรว์รุ่นเก่าๆหรือไดรว์แบบ SCSI นั้น จะมียูทิลิตี้ใรการทำ Low-Level Format ส่วน IDE จะไม่มียูทิลิตี้ดังกล่าว) การทำ Low-Level Format เป็นการกำหนดโครงสร้างฮาร์ดดิสก์ให้เป็นแทร็ก (Track) , เซ็กเตอร์ (Sector) , และไซลินเดอร์ (Cylinder) คุณจะคุ้นเคยกับคำเหล่านี้ถ้าคุณเป็นคนชอบติดตั้งฮาร์ดดิสก์
แทร็กมีลักษณะเหมือนร่องบนแผ่นเสียง แต่แทร็กแต่ละวงจรจะแยกจากกัน ไม่ได้เป็นวงต่อๆกันเหมือนอย่างบนแผ่นเสียง แทร็กจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆเรียกว่าเซ็กเตอร์ แต่ละเซ็กเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากมาย แต่ละแผ่นจานจะมีแทร็กและเซ็กเตอร์เป็นของตัวเอง แต่ละไซลินเดอร์ก็คือ กลุ่มแทร็กที่สัมพันธ์กัน ซึ่งก็คือแทร็กที่มีระยะห่างจากแกนหมุนเท่าๆกันนั่นเอง เราลองมานึกถึงภาพไซลินเดอร์กัน สมมุติว่ามีแพนเค้กวางซ้อนกันอยู่ และมีแก้วน้ำจำนวนหนึ่ง ซึ่งแต่ละแก้วมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เท่ากัน กดแก้วแต่ละใบตรงกลางของกองแพนเค้ก ทำอย่างนี้จนครบทุกแก้ว แพนแค้กจะถูกแบ่งออกเป็นวงๆตลอดทั้งกอง นั่นคือลักษณะของไซลินเดอร์

จุดประสงค์ในการแบ่งพาร์ติชั่น
1. เพื่อทำให้ฮาร์ดดิสก์สามารถ Boot ด้วยตัวเองได้ เรียกว่า การ Set Active Partition
2. เพิ่มจำนวนไดร์ฟให้มากขึ้น เพื่อต้องการเก็บข้อมูลที่สำคัญไว้เป็นสัดส่วน
3. ลดขนาดของฮาร์ดดิสก์ให้เล็กลง เพื่อนำฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่ไปใช้กับเครื่องรุ่นเก่าได้


การแบ่ง Partition เบื้องต้น


      Program ที่ใช้สำหรับแบ่ง Partition มีอยู่หลายตัวมากๆครับ แล้วแต่ว่าใครจะถนัดใช้ตัวไหน ผมเอามาสอนเท่าที่ผมใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ (ส่วนใหญ่ผมจะใช้จากแผ่น Hiren นะครับ)
            ก่อนจะมารู้จักการใช้โปรแกรมต่างๆ ขออธิบายเรื่องของPartitionซักนิดนึงนะครับ
    การแบ่งPartitionก็คือการแบ่งพื้นที่ HDD ออกเป็นส่วนๆ ตามความต้องการของเราครับ โดยจะมีชื่อเรียกพื้นที่ต่างๆ คือ
  1. Primary จะใช้เก็บ OS หรือ Windows ครับ
  2. Extended เป็นพื้นที่ๆเหลือจาก Primary และจะคลอบคลุมพื้นที่ Logical
  3. Logical จะเป็นพื้นที่ภายใต้ Extended และจะถูกแบ่งออกเป็น Drive ย่อยๆเช่น D:, E:, F:
ประโยชน์ของการแบ่ง Partition ก็เพื่อใช้เก็บข้อมูลสำคัญต่างๆออกจาก OS เพื่อความปลอดภัยจาก virus ได้ในระดับนึงครับ เพื่อให้ง่ายต่อการกู้ข้อมูล และกู้ windows ด้วยครับ



การ Format ฮาร์ดดิสก์
  
  หลังการทำ Partition HDD แล้ว จะต้องทำการ Format ฮาร์ดดิสก์ ก่อนที่จะติดตั้ง OS เช่น Windows
โดยในการ Format ฮาร์ดดิสก์ สามารถกำหนดการใช้งานระบบ FAT ได้ 2 รูปแบบคือ
1. ระบบ FAT 16 แนะนำให้ใช้แผ่นบูต DOS 6.22 เหมาะสำหรับการลงโปรแกรม Windows 3.11 , 95 , 98 หรือ Windows NT
2. ระบบ FAT 32 แนะนำให้ใช้แผ่น Startup Windows 98 เหมาะสำหรับการลงโปรแกรม Windows 98, Windows 2000 , Windows ME

3. การ Format ฮาร์ดดิสก์ ให้พาร์ทิชั่นแรกสามารถบูตเครื่องได้ให้ใช้คำสั่ง
C:\>format C:/s/c/u
คำสั่ง /s หมายถึง ให้ติดตั้ง Sysytem Files เพื่อบูตเครื่องได้
คำสั่ง /c หมายถึง การตรวจสอบฮาร์ดดิสก์แบบ Complete เพื่อหาตำแหน่งเนื้อที่ที่เสียหาย (Bad Sector)
คำสั่ง /u หมายถึง ไม่ต้องการกู้สิ่งใดกลับคืนหลังการ Format แล้ว
การ Format ฮาร์ดดิสก์จะมีการถามยืนยันว่า คุณกำลัง Format ฮาร์ดดิสก์ ข้อมูลจะสูญหาย จะทำต่อหรือไม่ ตอบ Y เพื่อทำการ Format
4. หลังจาก Format เสร็จสิ้นแล้วให้ใส่ Volume Label (ชื่อฮาร์ดดิสก์ใส่ได้ 11 ตัวอักษร) ถ้าไม่ต้องการให้ Enter ผ่านไป หลังจาหนั้นสามารถติดตั้ง Windos และ โปรแกรมใช้งาน ตามต้องการต่อไป

การติดตั้ง Windows หลังจาก Format ฮาร์ดดิสก์ นั้น เริ่มจากการทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับ Cd-Rom ได้ โดยการใช้แผ่น Startup Windows 98 Boot แล้วเลือกข้อ 1 หรือ Setup Driver ของ Cd-Rom จากแผ่น Driver ของ Cd-Rom ลงในฮาร์ดดิสก์โดยตรง แล้ว Restart เครื่องใหม่เพื่อลง Windows จากแผ่น CD ติดตั้งของ Windows ต่อไป
การคำนวณเนื้อที่ความจุของฮาร์ดดิสก์
สูตรการคำนวณคือ
ความจุฮาร์ดดดิสก์ = จำนวนหัวอ่าน x จำนวนเซ็คเตอร์ในหนึ่งไซลินเดอร์ x จำนวนไบต์ในหนึ่งเซ็คเตอร์ x จำนวนไซลินเดอร์
ความจุในหนึ่งไซลินเดอร์ = จำนวนหัวอ่าน x จำนวนเซ็คเตอร์ในหนึ่งไซลินเดอร์ x จำนวนไบต์ในหนึ่งเซ็คเตอร์
ตัวอย่างเช่นฮาร์ดดิสก์ที่มีหัวอ่าน 4 หัว มี 615 ไซลินเดอร์ๆละ 17 เซ็คเตอร์ๆละ 0.5 กิโลไบต์(512 ไบต์) จะได้
ความจุฮาร์ดดิสก์ = 4 x 17 x 0.5 x 615 = 20,910 KB หรือ 20 MB
ความจุในหนึ่งไซลินเดอร์ = 4 x 17 x 0.5 = 34 KB
คราวนี้คุณก็สามารถกำหนดขนาดของความจุของแต่ละพาร์ทิชั่นจากการกำหนดจำนวนไซลินเดอร์ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าให้พาร์ทิชั่นมีจำนวน 200 Cylinders ก็จะมีขนาด 6,800 KB เป็นต้น
สำหรับฮาร์ดดิสก์ของคุณจะมีจำนวนหัวอ่าน, จำนวนไซลินเดอร์, จำนวนเซ็คเตอร์ในหนึ่งไซลินเดอร์ และจำนวนไบต์ในหนึ่งเซ็คเตอร์เป็นเท่าใด ให้ตรวจสอบจากผู้ขาย หรือเอกสารที่แนบมากับฮาร์ดดิสก์
ระบบจัดเก็บไฟล์ในระบบปฏิบัติการต่างๆ

ระบบปฏิบัติการระบบไฟล์ที่สนับสนุน
MS DOS 6.22FAT 16
Windows 3.1FAT 16
Windows 95 และ 95AFAT 16
Windows 95B และ 95CFAT 16 , FAT 32
Windows 98 และ MeFAT 16 , FAT 32
Windows NT4FAT 16 , NTFS (SP4)
Windows 2000FAT 16 , FAT32 , NTFS
Windows XPFAT 32 , NTFS
    

Hack-Xshot







โปร x-sHoT! จากค่าย Ro69-69 ของเรานี่เองและสมารถใช้ได้จริงครับ^^
วิธีการใช้งานก็ให้เปิดโปรแกรมทั้งสองตัวแล้วเข้าเกมครับ
ต้องบายพาสก่อนถึงจะใช้โปรได้ให้กด Home หน้าล็อคอิน
จากนั้นเข้าเกมส์ตามปกติ เมื่อกำลังแข่งขันอยู่ให้กดคีย์ลัดหน้าโปร

creadit ro69-96

Download hear

http://www.mediafire.com/?k0cfal277ynwx97

ใบงานที่ 4




Hard Disk   คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม  และข้อมูลต่าง    เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ  Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk
ส่วนประกอบของ Hard Disk
1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm )
ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ในการหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วย Voice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor

 
2 . หัวอ่าน ( Head )
เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์  จะนำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น
 
3. แผ่นจากแม่เหล็ก (Platter)             มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุและสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น และเพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk  แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง ด้าน

 
4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter )
เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Diskเพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง 3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น

 
  5. เคส ( Case )
มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง

การเก็บข้อมูลของ Harddisk

ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น

ประวัติ Harddisk (เพิ่มเติม)

ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 (1956) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุเพียงระดับเมกะไบต์เท่านั้น «โดยใช้หน่วยการเปรียบเทียบเป็น ระดับจิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง 1,024MB = 1GB» ในตอนแรกใช้ชื่อเรียกว่า 'ฟิกส์ดิสก์ fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่ ในบริษัทIBMเรียกว่า วินเชสเตอร์ส Winchesters
ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ จานบันทึกแบบแข็ง เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ ตั้งแต่เข้าสู่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ฮาร์ดดิสก์สามารถพบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ไม่เฉพาะภายในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกด้วย เช่น เครื่องเล่นเอ็มพีทรี, เครื่องบันทึกภาพดิจิทัล, กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา PDA จนกระทั่งภายใน โทรศัพท์มือถือ บางรุ่นตั้งแต่ภายในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมาเช่นยี่ห้อ (โนเกีย และ ซัมซุงสองบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายแรกที่จำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่มีฮาร์ดดิสก์

ใบงานที่ 5




การทำงานของเครื่องซีดีรอม
เครื่องซีดีรอมมีส่วนประกอบภายในที่ทำหน้าที่ดังนี้
1. ตัวกำเนิดเลเซอร์ เป็นแหล่งกำเนิดความเข้มต่ำและส่งไปยังกระจกสะท้อนเลเซอร์
2. เซอร์โวมอเตอร์ ทำหน้าที่ปรับให้เลเซอร์ตกลงแทร็กที่ต้องการด้วยการรับคำสั่งจากไมโครโปรเซสเซอร์ และมีหน้าที่ปรับมุมของกระจกสะท้อนเลเซอร์ด้วย
3. เมื่อเลเซอร์กระทบดิสก์ จะมีการหักเหไปยังเลนส์ที่อยู่ด้านใต้ของดิสก์จากนั้นสะท้อนไปยังเครื่องแยกลำแสง
4. เครื่องแยกแสงจะส่งเลเซอร์ไปยังอีกเลนส์หนึ่ง
5. เลนส์อันสุดท้ายจะส่งเลเซอร์ไปยังเครื่องตรวจจับแสงที่เปลี่ยนคลื่นแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
6. ไมโครโปรเซสเซอร์จะแผลงสัญญาณที่ได้รับและส่งเป็นข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์

หน้าที่ของ CD - ROM

การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป ความเร็วของไดรฟ์ซีดีรอม มีหลายความเร็ว เช่น 2x 4x หรือ 16x เป็นต้น ซึ่งค่า 2x หมายถึงไดรว์ซีดีรอมมี ความเร็วในการหมุน 2 เท่า ไดรส์ตัวแรกที่เกิดขึ้นมามีความเร็ว 1x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล (Data Tranfer Rate) 150 KB ต่อวินาที ส่วนไดรฟ์ที่มีความเร็วสูงกว่านี้ ก็จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล ตามตาราง ความเร็วของไดรว์ ซีดีรอม อัตราการโอนถ่ายข้อมูล (กิโลไบต์ต่อวนาที)1x 1502x 3003x 4504x 6006x 9008x 1,20010x 1,500ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time) ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลคือ ช่วงระยะเวลาที่ไดรว์ซีดีรอมสามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม แล้วส่งไป ประมวลผล หน่วยที่ใช้วัดความเร็วนี้คือ มิลลิวินาที (milliSecond) หรือ ms ปกติแล้วความเร็วมตราฐานที่ เป็นของไดรว์ซีดีรอม 4x ก็คือ 200 ms แต่ตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขเฉลี่ยเท่านั้น เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าไดรว์ ซีดีรอมจะมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลบนแผ่นซีดีรอมเท่ากันทั้งหมด เพราะว่าความเร็วที่แท้จริงนั้นจะขึ้นอยู่ กับว่าข้อมูลที่กำลังอ่าน อยู่ในตำแหน่งไหนบนแผ่นซีดี ถ้าข้อมูลอยู่ในตำแหน่งด้านใน หรือวงในของแผ่นซีดี ก็จะมีความเร็วในการเข้าถึงสูง แต่ถ้าข้อมูลอยู่ด้านนอกหรือวงนอกของแผ่น ก็จะทำให้ความเร็วลดลงไป แคชและบัฟเฟอร์ ไดรว์ซีดีรอมรุ่นใหม่ๆ มักจะมีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชหรือบัพเฟอร์ติดตั้งมาบนบอร์ดของซีดีรอมไดรว์ มาด้วย แคชหรือบัพเฟอร์ที่ว่านี้ก็คือชิปหน่วยความจำธรรมดาที่ติดตั้งไว้เพื่อเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนที่จะส่ง ข้อมูลไปประมวลผลต่อไป เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านข้อมูลจากไดรว์ซีดีรอม ซึ่งแคชนี้มีหน้าที่เหมือน กับแคชในฮาร์ดดิกส์ ที่จะช่วยประหยัดเวลา ในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี เพราะถ้าข้อมูลที่ร้องขอมามีอยู่ ในแคชแล้ว ก็ไม่ต้องเสยเวลาไปอ่านข้อูลจากแผ่นอีก ขนาดของแคชในไดรว์ซีดีรอมทั่วๆ ไปก็คือ 256 กิโลไบต์ ซึ่งถ้ายิ่งมีแคชที่มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล ให้สูงขึ้นไปอีก ข้อดีของการติดตั้งแคชลงไปในไดรว์ซีดีรอมก็คือ แคชจะช่วยให้สามารถรับ-ส่งข้อมูล ได้ด้วยความเร็ว สม่ำเสมอ เมื่อแอพพลิเคชั่นร้องขอข้อมูล มายังไดรว์ซีดีรอม แทนที่จะต้องไปอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี ซึ่งมี ความเร็วต่ำ ก็สามารถอ่านข้อมูล ที่ต้องการจากแคช ที่มีความเร็วมากกว่าแทนได้ ยิ่งมีแคชจำนวนมากแล้วก็ สามารถที่จะเก็บข้อมูลมาไว้ในแคชได้เยอะขึ้น ทำให้เสียเวลาอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีน้อยลง อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอม อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอมมีอยู่ 2 ชนิดคือ IDE ซึ่งมีราคาถูก มีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลอยู่ในขั้น ที่ยอมรับได้ และชนิด SCSI มีราคาแพงกว่าแบบ IDE แต่ก็จะมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงขึ้นด้วย เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นซีดีเซร์ฟเวอร์ เพราะต้องการความเร็ว และความแน่นอนในการส่งถ่ายข้อมูลมากว่า ไดรฟ์ซีดีรอมจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งถายนอก แบบติดตั้งภายในมีข้อดีคือ ประหยัดพื้นที่ในการวางซีดีรอมไดรว์และไม่ต้องใช้อดแปเตอร์เพื่อจ่ายไฟให้กับไดรว์ซีดีรอม และที่สำคัญมีราคาถูกกว่าแบบติดตั้งภายนอก แบบบติดตั้งภายนอกมีข้อดีคือ สามารถพกพาไปใช้กับ เครื่องอื่นได้สะดวก เทคโนโลยีซีดีรอม เทคโนโลยีซีดีรอมแบบที่นิยมใชกันมีอยู่ 2 ประเภทคือ CLV (Constant Linear Velocity) และ CAV (Constant Angular Velocity) การทำงานของ CLV คือตัวไดรฟ์จะทำงานที่ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่แน่นอน (ความเร็ว X) แต่มอเตอร์ นั้นหมุนที่ความเร็วระดับต่างๆ กันขึ้นอยู่กับเนื้อที่ในการเก็บข้อูล โดยหากอ่านข้อมูลบริเวณด้านในของแผ่นซีดี ตัวไดรฟ์จะหมุนที่ความเร็วสูง แต่เมื่อมีการอ่านข้อมูลบริเวณด้านนอก ตัวไดรฟ์จะลดความเร็วรอบลง โดย ความเร็วรอบนจะอยู่ระหว่าง 500 ถึง 4,000 รอบต่อนาที สำหรับซีดีรอมความเร็ว 8 เท่า ซึ่งเทคโนโลยีนี้ทำ การเพิ่มความเร็วในการถ่ายข้อมูลโอนข้อมูลได้ยาก เนื่อจากต้องคงความเร็ว ในการโอนถ่ายข้อมูลที่ 16 เท่านั้น เมื่อข้อมูลถูกเก็บอยู่ในพื้นที่วงในของแผ่นซีดี ตัวไดรฟ์จำเป็นต้องหมุนด้วยความเร็วสูง เพื่อให้คงอัตราการ ถ่ายโอนข้อมูลนั้นไว้ ทำให้เกิดปัญหาความร้อนและเกิดข้อมผิดพลาดในการรับข้อมูลได้มากขึ้น แต่สำหรับเทคโนโลยี CAV ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่านั้นจะมีการทำงานที่ต่างกันโดยตัวไดรฟ์ CAV นั้นจะมีความเร็วในการหมุนคง ที่เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในฮาร์ดดิสก์ เมื่อมีการอ่านข้อมูลบริเวณวงในของ แผ่นซีดีรอมนั้นตัวไดรฟ์อาจจะทำความเร็วในระดับ 8-12 เท่า แต่ประโยชน์ที่ได้จาก แต่ประโยชนที่ได้จาก ตัวไดรฟ์เทคโนโลยีนี้ก็คือเมื่อไดรฟ์ ทำการอ่านข้อมูลบริเวณวงนอกของแผ่นซีดีความเร็ว ในการอ่านจะเพิ่มขึ้น เป็น 16 เท่า เพราะเนื้อที่ด้านนอกของซีดีนั้นจะเก็บข้อมูลมากว่าพื้นที่วงในของแผ่น

แผ่น CD-R

บางบนเรียกแผ่นประเภทนี้ว่า CD-WORM หรือ CD-WO (WO หมายถึง write onec) )แผ่น CD ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้โปรแกรมช่วยในการบันทึก และใช้เครื่อง Recordable CD เป็นตัวบันทึก แต่การบันทึกนั้นจะใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ข้อสังเกต ให้ดูคำว่า CD-R บนแผ่น CD

แผ่น CD-RW (Rewriteable CD)
          
แผ่น CD ที่สามารถบันทึกซ้ำได้ คล้ายกับ harddisk หรือแผ่นดิสก์ทั่ว ๆ ไป ราคาจะแพงกว่าแผ่น CD-R หลายเท่า ข้อสังเกตว่าแผ่นไหนเป็น CD-RW ให้ดูคำว่า CD-RW บนแผ่น CD สำหรับการบันทึกของแผ่น CD-RW จะเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า multi-sessions เทคโนโลยีของ CD-RW นั้นจะแตกต่างจาก CD-R เนื่องจากต้องมีการบันทึกซ้ำ โดยสารเคมีที่เคลือบบนแผ่น CD-RW นั้นจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้รับความร้อนถึงจุด ๆ หนึ่ง

ดีวีดี (DVD; Digital Versatile Disc) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า

ใบงานที่ 3

1. หาคำศัพธ์คอมพิวเตอร์ 


แบ่งออกเป็นหัวข้อดังนี้


1.1  คำศัพท์เฉพาะคอมพิวเตอร์(เช่น LCD , CPU ฯลฯ)


Compact Disc
อักษรย่อ :CD
ความหมาย : เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบดิจิตอล และ เพลง 



Multimedia
ความหมาย : สื่อประสม, สื่อหลายแบบ คือ การใช้สื่อหลาย ๆ ประเภทร่วมกันเช่นสื่อการสอนที่มีการนำเสนอด้วยภาพและเสียง พร้อมทั้งมีคำอธิบายด้วย

Database 

ความหมาย : ฐานข้อมูล
ข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน และถูกรวบรวมไว้ให้เป็นฐาน สำหรับการค้นคืนข้อมูล



Upload ความหมาย : คือ การส่งข้อมูลจาก เครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งโดยปกติจะอยู่ไกลออกไป 


abort
หมายถึง : การไม่ทำงานของเครื่องโดยมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น 


USB ย่อมาจาก :Universal Serial Bus
ความหมาย : เป็นมาตรฐานในการ อินเตอร์เฟส กับคอมพิวเตอร์ เป็นมาตรฐานในการ อินเตอร์เฟส กับคอมพิวเตอร์ ด้วยอัตราส่งถ่ายข้อมูล ได้มากกว่า 1 MB/Sec และ สามารถรองรับ Device ได้ถึง 127 ชิ้น 

AC
หมายถึง : 
กระแสไฟฟ้าสลับ เป็นอักษรย่อของคำเต็มว่า alternating current 

access
หมายถึง : 
เข้าถึง, บอกตำแหน่ง, การอ่านหน่วยความจำ,และทำให้พร้อมที่จะนำมาใช้งาน คำว่า access ใช้กับการเข้าสู่แผ่นดิสก์, แฟ้มข้อมูล, ระเบียนและเครือข่ายต่างๆ 

active
หมายถึง : 
เป็นคำ adjective ขยายโปรแกรม , เอกสาร, เครื่องมือต่างๆ หรือส่วนของหน้าจอภาพที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ หมายถึงโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ เอกสารที่กำลังใช้อยู่ หรือเครื่องมือที่กำลังถูกใช้งาน เป็นต้น 

C++
หมายถึง : 
ภาษา C programming language รุ่นใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดย Bjarne Strousrup ณ ห้องปฏิบัติการ Bell Laboratories เมื่อต้นปี พ.ศ. 2523 ภาษา C เวอร์ชั่นนี้เป็นที่ยอมรับของนักผลิตโปรแกรมทั้งหลาย เช่น บริษัท Apple Computer และบริษัท Sun Microsystem เป็นต้น 

CAD/CAM
หมายถึง : 
(อ่านว่า แคด/แคม) เป็นคำย่อของคำว่า computer-aided-design/computer-aided-manufacturing หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นอุตสาหกรรม เราสามารถใช้ CAD/CAM ผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักร เครื่องยนต์ เป็นต้น 



FAX Modem ความหมาย : โมเด็มที่สามารถรับและส่งแฟกซ์ได้ 


bus ความหมาย : คือ วงจรทางเดินไฟฟ้า สำหรับเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูล จากอุปกรณ์หนึ่งไปสู่อุปกรณ์หนึ่ง หรือจากจุดหนึ่งไปยังจุดที่ต้องการ 


Keyword
ความหมาย : คือ คำที่มีความหมายพิเศษสำหรับบางโปรแกรม เช่นคำที่เราต้องการค้นหาข้อมูลใน Search Engine

1.2  คำศัพท์ด้านอินเตอร์เน็ต( HTTP , HTTPS ฯลฯ)




ADDRESS
แปลตรงตัวหมายถึงที่อยู่ อาจหมายถึงที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์


AUTHORING TOOL
เครื่องมือใช้ในการสร้างเอกสารจำพวก HTML เพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ใน www

BACKBONE
การเชื่อมต่อข้อมูลด้วยความเร็วสูง สามารถเชื่อมต่อกับหลาย ๆ เครือข่าย


BRIDGE
เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่ง ที่ใช้สำหรับส่งต่อข้อมูลระหว่างสองระบบ หรือเครือข่าย ทำหน้าที่ส่งผ่าน package เท่านั้น


BROSWER
โปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่ Internter Explorer, Netscape, Opera

CLIENTS
คอมพิวเตอร์ลูกข่าย ที่เข้ามาขอใช้ข้อมูลจาก server ผ่านทางระบบเครือข่าย

COMPOSE
การแต่ง หรือเขียนจดหมาย Email

DIAL UP
การติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์

DNS
Domain Name Server การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP หรือในinternet

DOWNLOAD
การส่งผ่านข้อมูล เช่น ไฟล์ภาพไฟล์ภาพยนตร์ไฟล์เสียงเพลง จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา



DSL
Digital Subscriber Line อุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงอย่างหนึ่ง ผ่านทางสายโทรศัพท์ แต่เรายังคงใช้โทรศัพท์พร้อมกันได้ด้วย มีอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกกันคือADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)

EISA
การเชื่อมต่อหรือ อินเตอร์เฟส แบบมาตราฐานของการ์ดต่าง ๆ ปัจจุบันล้าสมัยแล้ว

EMAIL
Electronic Mail จดหมายอิเลคทรอนิกส์ ใช้สำหรับการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่าย

ETHERNET
มาตราฐานของสายเคเบิล และการเดินสาย โดยมีความสัมพันธ์กับระบบสื่อสารของเครือข่าย โดยมีหน่วยความเร็วเป็น 10 mbps , 100 mbps เป็นต้น

FIREWALL
แปลตรงตัวคือ กำแพงไฟ เป็นได้ทั้งซอร์ฟแวร์และฮาร์ดแวร์ สำหรับป้องกันการบุกรุกจากบุคคลภายนอกเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา

FTP
File Transfer Protocal มาตราฐานการส่งผ่านข้อมูล จากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งบน เครือข่าย TCP/IP

GATEWAY
คอมพิวเตอร์ตัวกลางในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่ง ไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง

GUEST BOOK
สมุดลงนาม ใช้สำหรับแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ web site นั้น ๆ ที่คุณเข้าไปเยี่ยมชม เป็นช่องทางแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง

HOME PAGE
เอกสารหน้าแรก (หน้าแนะนำตัว) ของ เวิลด์ ไวด์ เว็บ ของ web site ต่างๆ

HOST
คอมพิวเตอร์หลัก ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล เช่น Host ของ web site ต่างๆ

HTML
Hypertext Makrup Language ภาษาพื้นฐานสำหรับการสร้าง web ถือได้ว่าเป็นภาษาสากลสำหรับ web page

INTERNET
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระดับโลก

ISDN
Integrated Service Digital Network มาตราฐานการติดต่อความเร็วสูงอย่างหนึ่ง เพื่อใช้ส่งสัญญาณเสียง วีดีโอ ทางสายดิจิตอล

ISP
Internet Service Provider บริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต ได้แก่ KSC, CS-Loxinfo, Internet Thailand เป็นต้น

JAVASCRIP, JAVA APPLET
เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้สำหรับการสร้างและตกแต่งเอกสารบน เวิลด์ ไวล์ เว็บ

LAN
Local Area Network ระบบเครือข่าย สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูล และทรัพยากรอื่น ๆ ได้ในพื้นที่จำกัด

LOG IN
ขั้นตอนการขออนุญาต เข้าระบบ ปกติจะมี ID และ Password เป็นตัวควบคุม


MODEM
Modulator/Demodulator อุปกรณ์สำหรับเชื่อมคอมพิวเตอร์ผ่านทางสายโทรศัพท์ ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลทางกันได้

NEWSGROUPS
กลุ่มสนทนาทางเครือข่าย หรือทางอินเตอร์เน็ต

PCI
Peripheral Component Intercnnect มาตราฐานการเชื่อม หรือ อินเตอร์เฟส แบบใหม่ที่ให้ความเร็วสูงกว่า ISA แล EISA

POP SERVER
Post Office Protocol คือ เซอร์เวอร์ที่ใช้ในการรับส่ง Email

PROTOCOL
มาตราฐานที่ใช้ร่วมกัน ในการติดต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกัน

PROXY SERVER
เซอร์เวอร์หรือโฮสต์ ใช้สำหรับเพิ่มความเร็วในการเล่นเน็ต โดยเก็บข้อมูลใน proxy server ทำให้ผู้ใช้รายอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องไปค้นหาข้อมูลในต่างประเทศอีก

ROUTER
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลง package ของเครือข่ายหนึ่งให้เครือข่ายอื่นๆ เข้าใจได้

SCSI
Small Computer System Interface การเชื่อมต่ออุปกรณ์ เพื่อรับ-ส่ง ข้อมูลถึงกัน

SEARCH ENGINE
เครื่องมือช่วยในการค้นหา web site ต่างๆ บน internet

SERVER
คอมพิวเตอร์แม่ข่าย ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเก็บข้อมูล

SPAM MAIL
Email ที่ถูกส่งมายังผู้รับ โดยผู้รับไม่ได้ยินยอม โดยมีลักษณะคือส่งมาบ่อย ๆ และมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขายสินค้าและบริการ

TCP/IP
Transmission Control Protocol/Internet Protocal เป็นมาตราฐานอย่างหนึ่งในการสื่อสาร ทางด้าานอินเตอร์เน็ต

TELNET
เครื่องมือในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล

TOKEN RING
มาตรฐานการเชื่อต่อเคเบิล อย่างหนึ่งในระบบเครือข่าย

UPLOAD
วิธีการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ

URL
Unique Resource Locator ชื่อของคอมพิวเตอร์ ใช้เพื่อระบุตำแหน่งของเอกสารบน เวิลด์ ไวด์ เว็บ

WAN
Wide Area Network ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่กว่า LAN สามารถติดต่อไปยังเครือข่ายภายนอกได้ทั่วโลก

WEBMASTER
ชื่อตำแหน่งของผู้ที่สร้าง ดูแล จัดการ web ทั้งนี้อาจหมายถึงเข้าของ web ก็ได้

WORLD WIDE WEB
WWW หรือ Web ระบบที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต สามารถค้นหาข้อมูลภายใน web


IEEE
หมายถึง : อ่านว่า ไอทริเพิ่ลอี เป็นคำย่อของคำว่า Institute of Electrical and Electronics Engineers เป็นองค์กรวิชาชีพวิศวกรรมและอีเล็กทรอนิกองค์กรหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการพัฒนาระดับการเชื่อมโยงข้อมูลในเครือข่าย LAN มาตรฐานที่เรียกว่า IEEE 802 ต่อจากการพัฒนาแบบของ ISO Operating system Interconnection 


1.3  คำศัพท์เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง  ๆ หรือ อื่น ๆ (เช่น  Alphanumeric Characters , CCD )



alphanumeric characters
ตัวอักขระทั้งหมดที่เป็นได้ทั้งตัวอักษร (a, b, c,…) ตัวเลข (1, 2, 3,...) สัญลักษณ์พิเศษ ช่องว่าง และเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ ( #, 4,…)


analog display
ความสามารถของจอแสดงผลที่กระจายสีเป็นช่วงต่อเนื่องตามระดับความเข้มของสีเทาหรือสีทั่วไปต่างจากการแสดงผลแบบดิจิตอล ซึ่งจะกระจายสีได้ในขอบเขตจำกัดทั้งสีเทาหรือสีทั่วไปจอ VGA แสดงผลแบบแอนะล็อก ขณะที่จอ EGA แสดงผลเป็นดิจิตอล


analog-to-digital converter
ใช้คำย่อว่า ADC หรือ A-D converter, อุปกรณ์แปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิตอล เมื่อสัญญาณแอนะล็อกแปลงเป็นดิจิตอลแล้วจึงส่งมาให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล วิเคราะห์ แสดงผล และส่งข้อมูลได้ประเด็นสำคัญของตัวแปลงแอนะล็อกเป็นดิจิตอล คือปริมาณข้อมูลดิจิตอลที่ได้มาจากสัญญาณแอนะล็อก ความถูกต้องของการแปลงสัญญาณนี้ขึ้นกับความถี่ในการสุ่มจับข้อมูลแอนะล็อกแต่ละครั้งและข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้แผ่นวงจรเสียงที่ทันสมัยสามารถสุ่มจับข้อมูลและเล่นย้อนกลับได้ที่ความถี่ 44.1 กิโลเฮิรตซ์ โดยใช้ตัวแปลงแอนะล็อกเป็นดิจิตอลขนาด 16 บิต


animation
การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพเคลื่อนไหวตามภาพที่วาดหรือสร้างไว้การทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้ด้วยการแสดงผลภาพชุดหนึ่งที่เร็วมาก ๆจนเรามองเป็นภาพต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละภาพจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยแอนิเมชันนี่เองที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในเรื่องระบบงานแบบหลายสื่อรวมไปถึงเกมในคอมพิวเตอร์ด้วย เทคนิคที่ใช้ก็คล้ายกับการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน


any key
ปุ่มใด ๆบนแป้นพิมพ์ โดยมากมักจะเป็นกลุ่ม Enter หรือแคร่ยาว (Spacebar) โปรแกรมเมอร์มักใช้คำว่า “ ปุ่มใด ๆ any key” เพื่อให้คุณทำงานได้ง่ายเข้า


AMR (Adaptive Multi Rate)
ไฟล์เสียงในมาตรฐานใหม่ที่ได้รับการยอมรับในการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสื่อสารไร้สายยุคใหม่ส่วนมากเราจะเห็นไฟล์เสียงแบบ AMR ในโทรศัพท์มือถือที่รองรับบริการ MMS อยู่ในเครื่อง เพราะไฟล์เสียงแบบ AMR นั้นเป็นหนึ่งในฟอร์แมทไฟล์เสียงที่ใช้กับ MMS หรือเป็นเสียงที่เราบันทึกเองจากโทรศัพท์โดยจะถูกจัดเก็บเป็นไฟล์ฟอร์แมต .amr



3G (Third Generation)
การสื่อสารไร้สายยุคที่ 3 นับจากยุคที่ 1 คือยุคแอนะล็อก และยุคที่ 2 คือยุคดิจิทัล ส่วนยุคที่ 3
คือยุคการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง การพัฒนาของ 3Gทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดียและส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
โดยอุปกรณ์ที่ใช้นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสานการนำเสนอข้อมูล และเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกันเช่น PDA,โทรศัพท์มือถือ , Walkman , กล้องถ่ายรูป , และอินเทอร์เน็ต

3GPP (3rd Generation Partnership Project)
กลุ่มความร่วมมือระหว่างนักพัฒนาระบบมือถือบนโครงข่าย GSM, GPRS, EDGE, WCDMA เป็นหลักเพื่อกำหนดมาตรฐานกลางในการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ 3G



AAC (Advanced Audio Coding)
คือไฟล์เพลงอีกประเภท ที่มีระบบเสียงดีขึ้น เพราะอัดข้อมูลเพลงให้วิ่งในอัตรา 96 กิโลบิตต่อวินาที
ขณะที่ไฟล์ MP3 อัดที่ 128 กิโลบิตต่อวินาที AAC เป็นไฟล์แบบที่แอปเปิลจำหน่ายผ่านร้านไอจูนส์ (iTunes)โดยมีการผนวกเทคโนโลยี DRM เข้าไปในไฟล์ด้วย แอปเปิลเรียกโปรแกรม DRM ว่า FairPlayมีการกำหนดว่าเพลงที่ซื้อเพลงละ 99 เซ็น และอัลบั้มละ 9.95 ดอลลาร์
สามารถเล่นได้บนคอมพิวเตอร์ห้าเครื่อง ที่มี iTunes software และสามารถบันทึกหรือ burned
ลงบนซีดีได้เจ็ดครั้ง แต่ถ้าจะเปิดบนเครื่องเล่นเพลงแบบมือถือ ไฟล์แบบ AACที่ซื้อมาจากเว็บของแอปเปิลนี้เล่นได้แต่บนเครื่อง iPod เท่านั้นส่วนไฟล์เสียงที่เล่นบนมือถือจากทางโนเกียจะเป็นไฟล์เสียงคนละแบบกับของทางแอปเปิลแม้ว่าจะมีเป็นนามสกุลแบบเดียวกันก็ตาม

accessory
อุปกรณ์เสริม, อุปกรณ์ประกอบภายนอกหรืออุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับคอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วยทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่นเม้าส์ โมเด็ม เป็นต้น

account
แอกเคานต์, บัญชีผู้ใช้ซึ่งใช้เก็บข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้
และเจ้าของบัญชีจะมีสิทธิ์ใช้บริการได้ตามที่กำหนด, บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
ผู้ดูแลเครื่องจะจัดเตรียมบัญชีให้กับผู้ใช้ระบบ ซึ่งประกอบด้วยชื่อบัญชี (user name) รหัสผ่าน
(password) และเนื้อที่ดิสก์สำหรับใช้เป็นที่เก็บข้อมูล

Acrobat
ฟอร์แมตของเอกสารรูปแบบหนึ่งของบริษัท Adobe เอกสารฟอร์แมตอะโครแบทนี้นิยมใช้ในระบบ WWW  แฟ้มที่เก็บในฟอร์แมตนี้จะมีนามสกุล . pdf 
ผู้ใช้โปรแกรมเบราเซอร์สามารถอ่านเอกสารแบบอะโครแบทได้ด้วยโปรแกรม Adobe Acrobat (ดูที่ Adobe AcrobatReader) 

active matrix
จอแสดงผลแบบ LCD ของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบวางตัก ที่ใช้ได้ดีกว่า และแพงกว่าแบบ passive matrixจอแสดงผลแบบนี้มีทรานซิสเตอร์แยกไปควบคุมจุดต่าง ๆ บนจอภาพเพื่อให้มีคุณสมบัติดังนี้คือ
มีสีตัดกันอย่างเด่นชัด มองภาพในมุมกว้างได้ มีสีชัดเจน เป็นจอภาพที่มีอัตราการแสดงผลซ้ำได้เร็ว
และไม่แสดงผลเป็นเส้น ๆ หรือเงาที่มักเป็นกันในจอภาพที่ใช้เทคโนโลยี LCD ราคาถูก คำนี้มักใช้คำว่าactive matrix screen (ดูที่ passive matrix)

Active Server Page
ใช้คำย่อว่า ASP, เว็บเพจที่บรรจุโค้ดโปรแกรมซึ่งเขียนด้วย VBScript หรือ Jscript พัฒนาโดยไมโครซอฟท์,เป็นสคริปต์ที่ทำงานอยู่บนเซิร์ฟเวอร์, ASP นั้นมีหัวใจอยู่ที่ออบเจ็กต์ หรือคอมโพเนนต์
ซึ่งมีทั้งออบเจ็กต์มาตรฐานของ IIS (Internet Information Server) ปัจจุบันเริ่มมีการใช้ ASP แทน CGIเพิ่มขึ้น

active window
ช่องหน้าต่างใช้งาน, ในระบบปฎิบัติการหรือโปรแกรมอื่นๆ ที่แสดงช่องหน้าต่างบนจอภาพได้หลายๆ ช่องพร้อมกันมีช่องหน้าต่างบนจอภาพที่ใช้งานอยู่ขณะนั้นคือ

add-on program
โปรแกรมที่ทำงานร่วมหรือช่วยเพิ่มความสามารถให้กับโปรแกรมอื่น

address
แอดเดรส, ตำแหน่งที่อยู่, การอ้างหรือจัดการกับตำแหน่งต่าง ๆ บนอุปกรณ์เก็บข้อมูล,
ตำแหน่งในหน่วยความจำหรือดิสก์ซึ่งมีข้อมูลเก็บอยู่โดยที่หน่วยความจำจะมีตำแหน่งกำกับทุกไบต์
ขณะที่บนดิสก์จะมีตำแหน่งกับกับทุกเซกเตอร์

Address Book
ไฟล์ที่เก็บรวบรวมรายชื่อ อีเมล์แอดเดรสของผู้ที่คุณติดต่ออยู่เสมอ สามารถเพิ่มรายชื่อ
เปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อหรืออีเมล์แอดเดรสใน Address Book ได้
ปัจจุบันมีโปรแกรมอีเมล์หลายตัวที่มีคุณลักษณะนี้ บางโปรแกรมเมื่อคุณพิมพ์ชื่อผู้รับลงในอีเมล์ฉบับใหม่มันสามารถที่จะปรากฏชื่อและใส่อีเมล์แอดเดรสให้คุณได้ทันที เช่น Outlook Express

admin
ย่อมาจาก administrator, ผู้ดูแลเครือข่าย, ชื่อบัญชีสำหรับผู้ปฏิบัติงาน เป็นผู้ดูแลเครื่อง 

(systemadministrator) 


Adobe Acrobat Reader
ผลิตโดยบริษัท Adobe System เป็นโปรแกรมที่มีเครื่องสำหรับการสร้างและเปิดดูเอกสาร
ซึ่งเอกสารที่สร้างจาก Acrobat จะอยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF (Portable Document Format)
เอกสารที่อยู่ในฟอร์แมตนี้ สามารถเปิดอ่านได้จากคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรม Acrobat Reader
โดยที่เนื้อหา รูปแบบ ตัวอักษร และภาพจะเหมือนกับต้นฉบับ
สามารถส่งผ่านอีเมล์หรือนำเสนอข้อมูลบนเว็บเพจได้เช่นเดียวกับเอกสารทั่วๆ ไป
ทั้งบนระบบปฎิบัติการวินโดว์ แมคอินทอช และยูนิกซ์

ADSL
ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscriber Line, เทคโนโลยีที่ใช้ส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ด้วยความเร็วสูง

Airplane Mode/Flight Mode
โหมดตัดคลื่นสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารทางโทรศัพท์มือถืออัตโนมัติเพื่อไม่ให้ไปรบกวนการทำงานของคลื่นวิทยที่ใช้ในการบิน และระบบนำทางแต่ยังสามารถใช้งานเมนูอื่นๆ ที่ไม่ต้องใช้คลื่นสัญญาณ เช่น ออร์แกนไนเซอร์การเล่นเกมแบบไม่ออนไลน์ได้

alphabet
ตัวอักษร, ชุดของตัวอักษร

alphanumeric characters
ตัวอักขระทั้งหมดที่เป็นได้ทั้งตัวอักษร (a, b, c,…) ตัวเลข (1, 2, 3,...) สัญลักษณ์พิเศษ ช่องว่าง
และเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ ( #, 4,…)

amp
ย่อมาจาก AMPerp, หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า

analog แอนะล็อก,
การที่อุปกรณ์ใดก็ตามแสดงค่าที่เปลี่ยนไปตามคุณสมบัติทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องได้ เช่นแรงดันไฟฟ้าในวงจร แรงดันของการไหล ระดับของเหลว เป็นต้น อุปกรณ์แอนะล็อกจะเก็บค่าต่าง ๆที่อยู่ในช่วงนั้น ตรงข้ามกับอุปกรณ์ดิจิตอลที่จัดการกับค่าตายตัว เช่น เทอร์โมมิเตอร์
ปรอทธรรมดาเป็นอุปกรณ์แอนะล็อก แสดงผลต่อเนื่องตามช่วงของปรอทต่างจากเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลที่จะแสดงอุณหภูมิได้เพียงครั้งละค่าเดียวตามจังหวะเวลาที่วัดค่า (ดูที่digital)

analog display
ความสามารถของจอแสดงผลที่กระจายสีเป็นช่วงต่อเนื่องตามระดับความเข้มของสีเทาหรือสีทั่วไป
ต่างจากการแสดงผลแบบดิจิตอล ซึ่งจะกระจายสีได้ในขอบเขตจำกัดทั้งสีเทาหรือสีทั่วไป จอ VGA
แสดงผลแบบแอนะล็อก ขณะที่จอ EGA แสดงผลเป็นดิจิตอล

analog network
เครือข่ายแอนะล็อก, วงจรข่ายแอนะล็อก

analog signal
สัญญาณแอนะล็อก, สัญญาณซึ่งมีค่าต่อเนื่องกันโดยตลอด

analog-to-digital converter
ใช้คำย่อว่า ADC หรือ A-D converter, อุปกรณ์แปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิตอล
เมื่อสัญญาณแอนะล็อกแปลงเป็นดิจิตอลแล้ว จึงส่งมาให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล วิเคราะห์ แสดงผล
และส่งข้อมูลได้ ประเด็นสำคัญของตัวแปลงแอนะล็อกเป็นดิจิตอล คือ
ปริมาณข้อมูลดิจิตอลที่ได้มาจากสัญญาณแอนะล็อก ความถูกต้องของการแปลงสัญญาณนี้
ขึ้นกับความถี่ในการสุ่มจับข้อมูลแอนะล็อกแต่ละครั้งและข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้
แผ่นวงจรเสียงที่ทันสมัยสามารถสุ่มจับข้อมูลและเล่นย้อนกลับได้ที่ความถี่ 44.1 กิโลเฮิรตซ์
โดยใช้ตัวแปลงแอนะล็อกเป็นดิจิตอลขนาด 16 บิต

animation
การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพเคลื่อนไหว ตามภาพที่วาดหรือสร้างไว้,
การทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้ด้วยการแสดงผลภาพชุดหนึ่งที่เร็วมาก ๆ จนเรามองเป็นภาพต่อเนื่อง
ซึ่งแต่ละภาพจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
แอนิเมชันนี่เองที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในเรื่องระบบงานแบบหลายสื่อ รวมไปถึงเกมในคอมพิวเตอร์ด้วยเทคนิคที่ใช้ก็คล้ายกับการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน

anonymous
ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม, ชื่อบัญชีกลางสำหรับให้ผู้ใช้รายใดก็ได้ เข้าสู่ศูนย์บริการ FTP
เพื่อขอถ่ายโอนแฟ้ม (ดูที่ FTP)

antivirus
โปรแกรมป้องกันไวรัส ซอฟต์แวร์เอื้อประโยชน์ที่ใช้กวาดหาและตรวจจับไวรัสหรือซอฟต์แวร์อันตราย
ซึ่งอาจแอบแฝงอยู่ภายในเครื่องของคุณ ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสจะยับยั้งการแพร่เชื้อ
ลบไวรัสออกจากฮาร์ดดิสก์ และปกป้องพีซีของคุณจากการติดเชื้อต่าง ๆ แต่เมื่อมีข้อดีก็มีข้อเสีย
โดยคุณต้องเลือกระหว่างถูกซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสรบกวน กับการทำให้เครื่องพีซีของคุณตกอยู่ในภาวะอันตรายโปรแกรมป้องกันไวรัสจะทำงานอยู่และบอกประเภทไวรัส
ด้วยการคอยดูคุณสมบัติตามรูปแบบหรือกิจกรรมในระบบที่น่าสงสัย เช่น การเข้าใช้ดิสก์ที่ผิดปกติ หรือแฟ้ม
.EXE มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ โปรแกรมนี้จะรู้ว่าพบไวรัสได้จากการเปรียบเทียบข้อมูลของระบบ
กับข้อมูลของไวรัสที่โปรแกรมรู้จักและเก็บไว้บนดิสก์ วิธีการเยียวยาไวรัสที่มักจะทำกันคือ
ลบแฟ้มที่ติดไวรัสทั้งไป และนำแฟ้มที่เก็บสำรองไว้ก่อนหน้านี้กลับมาใช้แทน

สิ่งที่คุณควรระวังหลายประการ เพื่อให้ลดโอกาสเสี่ยงต่อการยุ่งเกี่ยวกับไวรัส มีดังต่อไปนี้

- เก็บสำรองข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์เป็นประจำ

- อย่าติดตั้งซอฟต์แวร์ที่คุณไม่รู้ว่าเป็นซอฟต์แวร์อะไรและมาจากไหน

- ควรโอนย้ายแฟ้มจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านเครือข่าย ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
หรือต่อโมเด็มโดยตรงแทนการใช้ฟลอปปีดิสก์ ไวรัสที่อันตราย มักอยู่ที่บูตแซกเตอร์บนฟลอปปีดิสก์

- จัดให้มีการป้องกันการเขียนทับข้อมูลบนดิสก์ทันทีเมื่อใช้งานเสร็จ

any key
ปุ่มใด ๆ บนแป้นพิมพ์ โดยมากมักจะเป็นกลุ่ม Enter หรือแคร่ยาว (Spacebar) โปรแกรมเมอร์มักใช้คำว่า “ปุ่มใด ๆ any key” เพื่อให้คุณทำงานได้ง่ายเข้า

app
ย่อมาจาก application, คำนี้มักใช้กับโปรแกรม เช่น App program บางครั้งอาจใช้ appl program (ดูที่application)

application
ใช้คำย่อว่า app, ระบบงาน, โปรแกรมซึ่งทำหน้าที่ช่วยผู้ใช้งานเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง,
คำนี้มักนำมาประกอบกับคำว่า application เป็นคำใหม่ คือ application program หรือนิยมเรียกว่าโปรแกรมประยุกต์ หรือเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของโปรแกรมที่มักจะออกแบบเฉพาะงานได้แก่ เวิร์ดโปรเซสเซอร์สเปรดชีตฐานข้อมูล

คำว่า “ ระบบงาน ” หมายถึง สิ่งที่ทำให้งานเสร็จหรือเป็นไปตามเป้าหมาย
ขณะที่บางคนรู้สึกกับคำว่าโปรแกรมเหมือนกับงานที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์
โดยทั่วไปโปรแกรมระบบงานจะแตกต่างจากซอฟต์แวร์ระบบ ตัวอย่างชองซอฟต์แวร์ระบบ ได้แก่
ระบบปฏิบัติการที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ หรือโปรแกรมที่นำแฟ้มที่ลบไปแล้วกลับมาใช้งาน
และภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อสร้างระบบงานใหม่

AMR (Adaptive Multi Rate)
ไฟล์เสียงในมาตรฐานใหม่ที่ได้รับการยอมรับในการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสื่อสารไร้สายยุคใหม่
ส่วนมากเราจะเห็นไฟล์เสียงแบบ AMR ในโทรศัพท์มือถือที่รองรับบริการ MMS อยู่ในเครื่อง เพราะไฟล์เสียงแบบAMR นั้นเป็นหนึ่งในฟอร์แมทไฟล์เสียงที่ใช้กับ MMS
หรือเป็นเสียงที่เราบันทึกเองจากโทรศัพท์โดยจะถูกจัดเก็บเป็นไฟล์ฟอร์แมต .amr

array
อาร์เรย์, แถวลำดับ, ชุดข้อมูลชนิดเดียวกัน (ตัวเลข, ตัวหนังสือ, หรือ สตริง อย่างใดอย่างหนึ่ง)
ค่าหลายๆ ค่าเก็บในตัวแปรเดียวกัน และ หมายเลขประจำตำแหน่งในอาร์เรย์อ้างถึงค่าต่างๆ
แต่การกำหนดตัวแปรอาจต่างกันไปตามภาษาที่ใช้งาน

attach
การแนบแฟ้มไปกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

attached file
แฟ้มที่แนบไปกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

audio
อุปกรณ์ผสมเสียงหรือสร้างเสียงในระบบงานแบบหลายสื่อ เสียงจะสร้างขึ้นมาได้หลายวิธี ได้แก่ 

CD-D-AWaveform audio หรือ MIDI audio 

- CD-DA คือ CD-digital มีรูปแบบและคุณภาพเช่นเดียวกับเครื่องเล่นซีดีตามบ้าน คอมพิวเตอร์จะส่งคำสั่งเช่น เล่น เริ่มเล่น หยุดชั่วคราว หรือหยุด ให้แก่ตัวเล่นซีดี ลำโพงจะเสียบโดยตรงเข้าไปยังตัวเล่นซีดี

- Waveform audio ให้คุณบรรทุกหรือเล่นเสียงซ้ำบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีระบบหลายสื่ออยู่ด้วย
เสียงแบบแอนะล็อกจะสุ่มจากไมโครโฟนผ่านทางตัวแปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิตอลที่อยู่บนแผ่นวงจรออดิโอ
ความชัดเจนของเสียงขึ้นอยู่กับขนาดของการสุ่มและอัตราและมีอัตราการสุ่ม แฟ้ม Waveform audio จะสุ่มทีละ
8 บิต หรือ 16 บิตก็ได้ และมีอัตราสุ่มที่ 11.025, 22.05 หรือ 44.1 เมกะเฮิรตซ์ และยังเป็นสเตอริโอ
หรือโมโนก็ได้
 ข้อมูลดิจิตอลที่นำมาเล่นซ้ำจะมีการนำมาแปลงเป็นเสียง
ด้วยวงจรแปลงดิจิตอลเป็นแอนะล็อกที่อยู่บนแผ่นวงจรออดิโอ และจะส่งผ่านทางลำโพง Waveform audio
จะใช้เพื่อบันทึกเสียงทั่วไป ไปรษณีย์รับฝากเสียง ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการบรรยายข้อความ แฟ้ม
Waveform audio มีนามสกุล .WAV

- MIDI audio ไม่ได้สร้างเสียงด้วยตัวเอง แต่จะควบคุมการรับและส่งจาก MIDI
ไปยังเครื่องสังเคราะห์เสียงและเครื่องดนตรีอื่น ๆ

ออดิโอครอบคลุมช่วงความถี่ที่หูมนุษย์ได้ยินจาก 15 เฮิรตซ์ไปจนถึงประมาณ 20,000 เฮิรตซ์

authentication
การตรวจสอบเพื่อยืนยันสิ่งที่ส่ง

auto answer
คุณสมบัติของโมเด็มที่สามารถทำหน้าที่รับโทรศัพท์และสร้างการเชื่อมต่อกับผู้เรียกต้นทา

auto dial
คุณสมบัติของโมเด็มที่สามารถทำหน้าที่เปิดสายโทรศัพท์และหมุนหมายเลขเพื่อขอเชื่อกับปลายทางได้เองโดยอัตโนมัติ